First Time in Malaysia – ตอนที่ 4 Kuala Lumpur (ตอนจบ)

BY IN AEC, Malaysia NO COMMENTS YET , , , , ,

วันสุดท้าย ของการไปเยือนมาเลเซียครั้งแรก จะพาไปเดินชมอาคาร แถวๆ Merdeka Square กันอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ จะเป็นภาคกลางวัน อาคารส่วนใหญ่แถว Merdeka Square จะเป็นสถาปัตยกรรมแบบอินเดีย และอาหรับ ครับ

วันที่เดินทาง : 24-27/08/2013

DSC_0001

Petronas Twin Towers จากห้องพัก Traders Hotel by Shangri-La รูปตึกแฝดจะต้องมีทุกวัน ก่อนออกจากโรงแรมหรือเดินผ่านไปมา ก็ต้องถ่ายตลอด ไม่รู้เป็นไง สงสัยกลัวจะไม่คุ้มค่าโรงแรมมั้งครับ

DSC_3586

DSC_3594

ชานชลา ภายในสถานี KLCC โดยจะนั่งรถไฟฟ้าสาย Kelana Jaya จากสถานี KLCC นี้ ไปลงที่สถานี Masjid Jamek

DSC_3600

เมื่อถึงสถานี Masjid Jamek เดินออก มาทางออก Masjid Jamek แล้วเดินไปทาง Jalan Raja เพื่อไปชมสถาปัตยกรรมแบบอินเดีย และอาหรับ แถวๆ Dataran Merdeka (จัตุรัสเมอร์เดก้า)

DSC_3600_1

Panggung Bandaraya Building

DSC_3607

Old High Court Building อยู่ถัดจาก Panggung Bandaraya Building

DSC_3601

DSC_3609

Dataran Merdeka (จัตุรัสเมอร์เดก้า) และ Merdeka Square Flagpole (เสาธงชาติของประเทศมาเลเซีย ครั้งหนึ่งเคยเป็นเสาธงชาติที่สูงที่สุดในโลก)

Merdeka เป็นภาษามาเลย์ มีความหมายว่ าเอกราช เนื่องด้วยสถานที่แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของเสาธงสูง 95 เมตร ซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็น เสาธงที่สูงที่สุดในโลกมาก่อน ณ ที่นี่ ธงยูเนียนแจ็คของอังกฤษได้ถูกลดลงจากเสา และธงชาติมาเลเซีย ถูกเชิญขึ้นสู่ยอดเสาแทน จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งเอกราช ของชนชาติมาเลเซีย

บริเวณจัตุรัสแห่งนี้ จึงเป็นสถานที่สำคัญ สำหรับจัดงานระดับชาติ เช่น งานฉลองวันชาติ งานพิธีสวนสนาม รวมทั้งคอนเสิร์ต และมหกรรมต่างๆ โดยรอบผืนสนามหญ้าขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “ปาดัง” จะรายล้อมไปด้วยอาคารที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบอินเดียและอาหรับ ยกเว้นอาคารสลังงอร์คลับ ที่เป็นแบบมาเลย์แท้

วันที่ไป เป็นจังหวะที่ทางการมาเลเซีย กำลังซ้อมเตรียมงาน วันชาติมาเลเซีย ซึ่งเป็นวันที่ 31 สิงหาคม ของทุกปี คนจะเยอะมาก มีเวทีต่างๆ เต็มไปหมด

DSC_3613

Sultan Abdul Samad Building อาคารสถาปัตยกรรมแบบมัวร์ ออกแบบโดย AC Norman สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1894 เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการบริหารอาณานิคม ในสมัยการปกครองของอังกฤษ

จุดเด่นของอาคารนี้ อยู่ที่ หอนาฬิกาสูง 41.2 เมตร ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิ๊กเบนของมาเลเซีย” ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบโดมสีทองขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลอง เนื่องในวันพระราชสมภพ ของสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ที่เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดอาคารหลังนี้ เมื่อปี ค.ศ. 1897

DSC_3618

DSC_3622

DSC_3635

Kuala Lumpur Memorial Library ห้องสมุดสาธารณะและศูนย์ทรัพยากร เป็นอาคารสองชั้น สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1909 

DSC_3660

Kuala Lumpur City Gallery ด้านในจะบอกเล่าประวัติของประเทศมาเลเซีย จากอดีต จนถึงปัจจุบัน

DSC_3658

DSC_3671

DSC_3673

Restoran Warisan ร้านอาหารหรูหราแห่งหนึ่งในกัวลาลัมเปอร์ ในอดีตเคยเป็น อาคารของ Chartered Bank มาก่อน

DSC_3667

DSC_3681

น้ำพุ ที่่ Merdeka Square (Dataran Merdeka)

DSC_3686

DSC_3689

Sultan Abdul Samad Building

DSC_3695

DSC_3714

Old Post Office Building

DSC_3719

DSC_3725

National Textile Museum พิพิธภัณฑ์สิ่งทอแห่งชาติ จัดแสดงเสื้อผ้า เครื่องประดับ และสิ่งทอที่มีเอกลักษณ์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีห้องจัดแสดงหลักอยู่ 4 ห้อง ได้แก่ ห้องโปฮนบูดิ ห้องเปลังกิ, ห้องเตลัคเบรันไต และห้องรัตนาซารี

DSC_3731

Sultan Abdul Samad Building และ Old Post Office Building

DSC_3741

DSC_3742

DSC_3745

DSC_3749

บิ๊กเบนของมาเลเซีย ที่ Sultan Abdul Samad Building 

DSC_3779

Sultan Abdul Samad Building

DSC_3793

DSC_3799

Panggung Bandaraya Building

DSC_3805

Masjid Jamek (มัสยิดจาเม็ก) สุเหร่าจาเม็กสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1909 เป็นสุเหร่าที่เก่าแก่ที่สุดของเมือง ชาวมาเลเซียในท้องถิ่น มักเรียกสุเหร่านี้ว่า “มัสยิดจาเม็ก”

สุเหร่าจาเม็กนี้ ตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำกรังและแม่น้ำกอมบัคไหลมาบรรจบกัน อันเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเมืองกัวลาลัมเปอร์

ตัวอาคารของสุเหร่าจาเม็ก สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของวัฒนธรรมโมกุลของอินเดียตอนเหนือ

ในปี ค.ศ. 1965 สุเหร่าจาเม็กได้รับการประกาศให้เป็นสุเหร่าแห่งชาติ

ถึงแม้ว่า ปัจจุบัน จะมีสุเหร่าแห่งชาติแห่งใหม่ตั้งอยู่ใกล้กัน แต่สุเหร่าจาเม็กยังคงเป็นสถานที่สำคัญของเมือง เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมืองกัวลาลัมเปอร์พอดี

DSC_3818

DSC_3826

ข้อห้ามต่างๆ ที่ควรรู้ในการใช้บริการรถไฟฟ้าที่มาเลเซีย

DSC_3835

ขากลับ ก็นั่งรถไฟฟ้าจากสถานี Masjid Jamek กลับมายังสถานี KLCC เหมือนเดิม

ทางเดิน และชานชลา ภายในสถานี Masjid Jamek

DSC_3838

DSC_3842

นั่งกลับมาสักพัก ก็จะถึงสถานี KLCC ที่สถานี KLCC นี้ จะมีทางเชื่่อมจากสถานี เข้ามาภายในห้าง Suria KLCC ได้เลย

DSC_3883

DSC_3885

บึงน้ำ ด้านหล้ง Suria KLCC และ KLCC Park ตอนที่กลับมาถึง ฝนกำลังตกพอดี แต่ก็ไม่เป็นไรครับ สามารถที่จะเดินภายใน KL Convention Centre เพื่อกลับไปยังโรงแรมได้

DSC_3896

DSC_3903

และแล้ว ก็ได้เวลากลับประเทศไทย โดยออกจาก สนามบิน LCCT กัวลาลัมเปอร์ เวลา 18.45 น. ด้วยสายการบิน Air Asia เที่ยวบินที่ AK1948 ถึง สนามบินดอนเมือง (Don Mueang International Airport (DMK)) เวลา 19.50 น.

เป็นอันจบทริป สำหรับการเดินทางไปประเทศมาเลเซีย ครั้งแรก แต่เพียงเท่านี้ครับ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ

Comments

comments