วันที่ 3 ของการไปเยือนมาเลเซียครั้งแรก ภารกิจหลักของวันนี้ จะพาไปเดินเล่นชมเมือง Putrajaya กันครับ
วันที่เดินทาง : 24-27/08/2013
วิว Petronas Twin Towers และ KLCC Park จากห้องพัก Traders Hotel by Shangri-La ช่วงเช้า ก่อนที่จะออกเดินทางไป เมืองปุตราจายา
หลังจากรับประทานอาหารเช้า ที่โรงแรมเรียบร้อยแล้ว ออกมาจากโรงแรมเดินผ่าน KLCC Park เพื่อไปขึ้นรถไฟฟ้าไปเมือง Putrajaya
KLCC Park เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ใจกลางเมืองหลวงของมาเลเซีย มีพื้นที่ประมาณ 200,000 ตารางเมตร ร่มรื่นไปด้วยสนามหญ้า บึงน้ำ และต้นไม้ใหญ่ อยู่ติดกับ Petronas Twin Towers และ ห้าง Suria KLCC โดย KLCC Park จะเปิดเวลา 5.30 น. และ ปิดเวลา 00.15 น.
ด้านหลัง ห้าง Suria KLCC จะเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ ในตอนกลางคืนจะมีการแสดงน้ำพุประกอบแสงสีเสียง
ตู้ขายตั๋วรถไฟฟ้า ภายในสถานี KLCC โดยจะต้องซื้อตั๋วไปลงสถานี KL Sentral ก่อน (สาย Kelana Jaya) (สถานี KL Sentral จะเป็นศูนย์กลางในการเดินทางไป สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ รอบเมืองกัวลาลัมเปอร์) วิธีซื้อตั๋วรถไฟฟ้า ก็จะคล้ายกับของไทย
เมื่อถึงสถานี KL Sentral แล้ว เดินไปซื้อตั๋ว KLIA Transit เพื่อที่จะไปเดินเล่น ที่ เมืองปุตราจายา โดยจะต้องซื้อตั๋วรถไฟฟ้า ไปลงที่สถานี Putrajaya & Cyberjaya (ค่าโดยสาร ประมาณ 9.5 ริงกิต)
ทางเข้าชานชลารถไฟฟ้า จะอยู่ด้านข้างเคาน์เตอร์ขายตั๋ว เดินลงไปที่ชั้นล่าง เพื่อรอขึ้นรถไฟฟ้าไปเมืองปุตราจายา
จุดรอรถไฟฟ้าสาย KLIA Transit
ระหว่างทางจะผ่าน The Kuala Lumpur Old Railway Station ซึ่งเป็นสถานีรถไฟเก่า ของเมืองกัวลาลัมเปอร์ มาครั้งนี้ เวลาไม่พอเลยไม่ได้ไป ครั้งหน้าคงจะไม่พลาด
ถึงแล้ว สถานี Putrajaya & Cyberjaya ใช้เวลาเดินทางจากสถานี KL Sentral ประมาณ 25-30 นาที
เดินขึ้นมาด้านบน เพื่อเดินไปขึ้นรถโดยสารที่วิ่งภายในเมืองปุตราจายา ในชั้นนี้จะมีเคาน์เตอร์ขายของต่างๆ และมีเคาน์เตอร์ทัวร์สำหรับนักท่องเที่ยว ภายในเมืองปุตราจายาด้วย
เดินมาอีกด้าน แล้วลงมาด้านล่าง เพื่อนั่งรถโดยสาร สาย L11 ไป Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) หรือ มัสยิดสีชมพู (ค่าโดยสารประมาณ 1 ริงกิต)
ภายในรถโดยสาร ที่วิ่งภายในเมืองปุตราจายา
Putrajaya (ปุตราจายา) เป็นเมืองใหม่ ตั้งอยู่ใน ประเทศมาเลเซีย เกิดขึ้นจากแนวความคิดของ อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ที่จะสร้างเมือง เพื่อเป็นที่ตั้งของฝ่ายบริหารและประมุขของประเทศ โดยเมืองปุตราจายา จะตั้งอยู่ทางตอนใต้ ของกรุงกัวลาลัมเปอร์
นั่งรถมาสักพัก สุดท้ายก็ไปไม่ถึง Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) เปลี่ยนใจลงที่ Perbadanan Putrajaya Complex ก่อน แล้วค่อยๆ เดินเลาะทะเลสาบไป Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) ซึ่งค่อนข้างจะไกลอยู่เหมือนกัน
Palace of Justice เป็น ศาลประจำประเทศมาเลเซีย
พระราชวังแห่งความยุติธรรม หรือ อิสตานา เคฮาคิแมน คือ อาคารขนาดใหญ่ เป็นที่ตั้งของฝ่ายพิจารณาคดี และศาลต่างๆ ประกอบด้วยอาคารห้าชั้น ใช้เป็นสถานที่พิจารณาคดี ส่วนอาคารสองชั้นอีกหนึ่งหลัง เป็นที่ตั้งของศาลและสำนักงาน
เนื่องจากกลุ่มอาคารตั้งอยู่บนพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้น จึงมักกลายเป็น สถานที่จัดงานระดับชาติ เช่น เทศกาลสีสันแห่งมาเลเซีย และงานอื่นๆ อีกมากมาย ที่นี่เหมาะกับการเดินถ่ายรูป อาคารมีหอคอยรูปโดมที่สวยงามเป็นจุดเด่น
(ที่มา : http://www.tourism.gov.my/th-th/th/places/states-of-malaysia/putrajaya/palace-of-justice)
Tuanku Mizan Zainal Abidin Mosque (Iron Mosque) มีความสำคัญเป็นอันดับ 2 รองจาก มัสยิดสีชมพู หรือ มัสยิตปุตรา (Masjid Putra)
Tuanku Mizan Zainal Abidin Mosque (Iron Mosque) เป็นสถาปัตยกรรมลวดตาข่าย ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน และ ประเทศเยอรมันนี ทางเข้าหลัก เป็นกระจกเสริม ด้วยคอนกรีต ทางเข้าห้องโถงละหมาดหลักประดับด้วย บทร้อยกรอง 80 จาก สุระอัลอิศ จาก คัมภีร์กุรอ่าน
นอกจากนี้ยังมี ผนังแผงกระจก ที่นำเข้าจากประเทศเยอรมนี สลัก 2 ข้อความ จาก สุระ อัล บนด้านขวามือ และ อิบราฮิม สุระ ทางด้านซ้าย สูง13 เมตร ใช้เหล็กในการก่อสร้างถึง 6,000 ตัน หรือ ประมาณ 70% ของโครงสร้าง โดยมีคอนกรีตเพียง 30% เท่านั้น สามารถจุคนได้ถึง 20,000 คน
(ที่มา : http://thaigoodview.com/node/180857?page=0,6)
ตึก BHEUU ใกล้ๆกับ Tuanku Mizan Zainal Abidin Mosque (Iron Mosque)
Palace of Justice ศาลประจำประเทศมาเลเซีย มองผ่านทะลุ Perbadanan Putrajaya Complex จาก Tuanku Mizan Zainal Abidin Mosque (Iron Mosque)
บริเวณรอบๆ Tuanku Mizan Zainal Abidin Mosque (Iron Mosque)
ภายใน Tuanku Mizan Zainal Abidin Mosque (Iron Mosque)
ณ มุมหนึ่งบน Tuanku Mizan Zainal Abidin Mosque (Iron Mosque) สามารถมองเห็นไปถึง Jambatan Seri Wawasan (Seri Wawasan Bridge) และ Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) หรือ มัสยิดสีชมพู ซึ่งเป็นจุดหมายที่จะเดินไปต่อครับ
บริเวณรอบๆ Tuanku Mizan Zainal Abidin Mosque (Iron Mosque) ก่อนเดินลงมาด้านล่าง
ถนน และอาคารต่างๆ ภายในเมืองปุตราจายา
Tuanku Mizan Zainal Abidin Mosque (Iron Mosque) จากด้านนอก ระหว่างเดินเลาะทะเลสาบ ไป Masjid Putra (มัสยิดปุตรา)
อาคาร Jabatan Pendaftaran Negara (JPN) เป็น สำนักทะเบียนมาเลเซีย (* ไม่แน่ใจเท่าไหร่นะครับ)
Tuanku Mizan Zainal Abidin Mosque (Iron Mosque) และ Monumen Alaf Baru Kebangsaan
เดินมาสักพักก็จะถึง Jambatan Seri Wawasan (Seri Wawasan Bridge)
ด้านบนของ Jambatan Seri Wawasan (Seri Wawasan Bridge)
เดินเลียบทะเลสาบไปเรื่อยๆ เจอฝนปรอยๆ บ้างบางช่วง แต่โชคดีเจอศาลาเล็กๆ ให้หลบฝนได้ วิวระหว่างทางเดินไป Masjid Putra (มัสยิดปุตรา)
Istana Darul Ehsan (Palace of King of Selangor at Putrajaya) , Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) หรือ มัสยิดสีชมพู และ Perdana Putra (ทำเนียบรัฐบาล และสำนักนายกรัฐมนตรี)
Jambatan Seri Wawasan (Seri Wawasan Bridge)
Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) หรือ มัสยิดสีชมพู และ Perdana Putra (ทำเนียบรัฐบาล และสำนักนายกรัฐมนตรี)
Istana Darul Ehsan (Palace of King of Selangor at Putrajaya) และ Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) หรือ มัสยิดสีชมพู
Istana Darul Ehsan (Palace of King of Selangor at Putrajaya)
Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) หรือ มัสยิดสีชมพู และ Perdana Putra (ทำเนียบรัฐบาล และสำนักนายกรัฐมนตรี)
เดินมาอีกสักพักใหญ่ๆ ก็จะถึง Jambatan Putra (Putra Bridge)
Galeri Putra Perdana Kastam Diraja Malaysia ใกล้กับ Jambatan Putra (Putra Bridge)
บน Jambatan Putra (Putra Bridge) จะเห็น Perdana Putra (ทำเนียบรัฐบาล และสำนักนายกรัฐมนตรี) อยู่ด้านหน้า ต้องเดินข้าม Jambatan Putra (Putra Bridge) ไปยัง Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) หรือ มัสยิดสีชมพู โดย Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) จะอยู่ใกล้ๆกับ Perdana Putra (ทำเนียบรัฐบาล และสำนักนายกรัฐมนตรี)
Istana Darul Ehsan (Palace of King of Selangor at Putrajaya)
Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) หรือ มัสยิดสีชมพู เป็น อาคารรูปโดมสีชมพู สร้างขึ้นจากแกรนิตสีชมพูสวยงาม สามารถรองรับชาวมุสลิมที่เข้ามาทำพิธีทางศาสนาได้ประมาณ 15,000 คน ผนังใต้ดินของสุเหร่า เหมือนกับผนังของห้องใต้ดิน ของสุเหร่ากษัตริย์ฮัตซัน ในเมืองคาซาบลังกา ประเทศโมรอคโค
สุเหร่าแห่งนี้ ประกอบด้วยพื้นที่ใช้งานสามส่วนด้วยกัน ได้แก่ ห้องสวดมนต์ ลานนอกสุเหร่า (Sahn) ห้องเรียน และห้องประชุมต่างๆ
ห้องสวดมนต์ มีความเรียบง่าย แต่ทว่าสง่างาม มีเสา 12 เสา จุดสูงสุดใต้โดม อยู่สูงกว่าระดับพื้นดิน 250 ฟุต
ลานสุเหร่า ประดับตกแต่งด้วยน้ำพุ ล้อมรอบด้วยแนวเสาระเบียง เป็นพื้นที่สวดมนต์ขนาดใหญ่ ที่งดงามและน่าเข้าไปสัมผัส
นอกจากนี้ สุเหร่า จะมีหอคอยสูงที่สวยงาม ที่สร้างขึ้นโดยได้รับอิทธิพลมาจากสุเหร่าชีคโอมาร์ ในแบกแดด หอคอยดังกล่าว มีความสูง 116 เมตร และเป็นหนึ่งในหอคอยที่สูงที่สุดในภูมิภาค มีห้ายอด เป็นสัญลักษณ์ของเสาหลักทั้งห้าในศาสนาอิสลาม
(ที่มา : http://www.tourism.gov.my/th-th/th/places/states-of-malaysia/putrajaya/putra-mosque)
Perdana Putra (ทำเนียบรัฐบาล และสำนักนายกรัฐมนตรี) อยู่ข้างๆ Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) หรือ มัสยิดสีชมพู ด้านหน้าจะเป็น Putra Square
Perdana Putra (ทำเนียบรัฐบาล และสำนักนายกรัฐมนตรี) เป็น กลุ่มอาคาร ที่ใช้เป็นทำเนียบรัฐบาลของคณะรัฐมนตรี เป็นที่ตั้งของสำนักงานรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐมากมาย
Perdana Putra (ทำเนียบรัฐบาล และสำนักนายกรัฐมนตรี) ตั้งอยู่บนเนินเขาปุตราจายา สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1997 เป็นการผสมผสานลักษณะสถาปัตยกรรมแบบ มาเลย์ อิสลาม และยุโรปไว้ด้วยกัน ทำให้ตัวอาคารดูโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์
กลุ่มอาคารเหล่านี้ ยังเป็นสัญลักษณ์ของปุตราจายา ด้านบนของตัวอาคาร มีโดมสีเขียวเด่นสะดุดตา อาคารมีสีอิฐ
(ที่มา : http://www.tourism.gov.my/th-th/th/places/states-of-malaysia/putrajaya/perdana-putra)
การเช้าไปชมภายใน Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) หรือ มัสยิดสีชมพู จะให้เข้าไปชมเป็นรอบๆ ตอนไปถึงปิดรอบไปแล้ว จะต้องรอรอบต่อไปครับ ระหว่างรอ ก็เดินลงไปหาของกิน ที่ ศูนย์อาหารด้านล่าง Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) โดยจะต้องเดินลงบันไดไปชั้นล่าง ซึ่งจะมี ร้านขายของฝาก และ ศูนย์อาหาร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมทะเลสาบ
ร้าน Secret Recipe ภายในศูนย์อาหาร
Fried Rice With Satay ราคา 15.50 ริงกิต รสชาติดี ใช้ได้เลยครับ
ภายในศูนย์อาหาร
ด้านนอกของศูนย์อาหาร จะติดกับทะเลสาบ
Jambatan Putra (Putra Bridge) ที่เดินข้ามมา ตอนเดินมาจาก Jambatan Seri Wawasan (Seri Wawasan Bridge)
Istana Darul Ehsan (Palace of King of Selangor at Putrajaya)
Jambatan Seri Wawasan (Seri Wawasan Bridge) ที่เดินผ่านมาจาก Tuanku Mizan Zainal Abidin Mosque (Iron Mosque)
Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) หรือ มัสยิดสีชมพู
ทานอาหารเสร็จ เดินเล่นสักพัก ก็เดินขึ้นมาด้านบน เพื่อเข้าชม Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) หรือ มัสยิดสีชมพู
ภายใน Masjid Putra (มัสยิดปุตรา) หรือ มัสยิดสีชมพู โดยชมแต่เพียงภายนอก ไม่ได้เข้าไปชม ด้านในตัวมัสยิดสีชมพู ครับ
Perdana Putra (ทำเนียบรัฐบาล และสำนักนายกรัฐมนตรี)
ภายในเมืองปุตราจายา นอกจาก มีทะเลสาบ ที่สร้างขึ้นโดยการขุด ซึ่งทำให้เมืองปุตราจายา มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม ยังมี สะพาน ที่ออกแบบอย่างสวยงามถึง 5 สะพาน ได้แก่ Putra Bridge, Seri Perdana Bridge, Seri bakti Bridge, Seri Gemilang Bridge, และ Seri Wawasan Bridge ในช่วงเวลากลางคืน บางสะพาน จะมีการเปิดไฟสว่างไสวสวยงามมาก
ครั้งนี้ ได้ไปเพียงแค่ 2 สะพาน คือ Putra Bridge และ Seri Wawasan Bridge
ขากลับ นั่ง Taxi จาก มัสยิดปุตรา มาลงที่สถานี Putrajaya & Cyberjaya (ค่าโดยสารประมาณ 20 ริงกิต)
ชานชลา รอรถไฟฟ้า ภายใน สถานี Putrajaya & Cyberjaya
ภายในรถไฟฟ้าสาย KLIA Transit ที่นั่งกลับไปลงที่สถานี KL Sentral
เมื่อถึงสถานี KL Sentral ต่อรถไฟฟ้าสาย Kelana Jaya ไปยังสถานี KLCC
บึงน้ำ ด้านหล้ง Suria KLCC และ KLCC Park ระหว่างเดินกลับไปยังโรงแรม
พักผ่อนสักพัก ก็ขึ้นไปทานอาหาร ในช่วง Cocktail ที่ Traders Lounge บนชั้นที่ 32 ของโรงแรม แล้วกลับลงมาที่ห้องพัก
Petronas Twin Towers ยามเย็น จากห้องพักของ Traders Hotel by Shangri-La
ในช่วงค่ำๆ ก็ออกไปแถว Merdeka Square โดยนั่งรถไฟฟ้าจาก สถานี KLCC ไปลง สถานี Masjid Jamek
Masjid Jamek (มัสยิดจาเม็ก) เป็นสถาปัตยกรรมแบบ มุสลิมอินเดีย ได้รับการออกแบบ โดย เอ บี ฮับบอคส์ สถาปนิกชาวอังกฤษ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1909 ในบริเวณที่แม่น้ำ Klang และ Gombak ไหลมาบรรจบกัน หรือ ที่เรียกได้ว่าเป็นบริเวณจุดกำเนิดของกัวลาลัมเปอร์
สำหรับตัวมัสยิดจาเม็ก จะมีโดมเป็นรูปหัวหอม เสาระเบียงโค้ง และพื้นหินอ่อนที่ส่องแสงแวววาว และเย็นสบาย ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนปาล์มที่สวยงาม และร่มเย็น
Panggung Bandaraya Building
Old High Court Building อยู่ถัดจาก Panggung Bandaraya Building
Sultan Abdul Samad Building อาคารสุลต่านอับดุลซามัค และ หอนาฬิกา สูง 40 เมตร เป็นตัวอาคารเก่าแถบ Merdeka Square
โดยตัวอาคารสุลต่านอับดุลซามัค จะเป็น สถาปัตยกรรม แบบ มัวร์ ส่วนที่เป็น หอนาฬิกา สูง 40 เมตร ที่นั่น มักจะเรียกกันว่าเป็น บิ๊กเบนของมาเลเซีย ส่วนด้านบน จะเป็น โดมขนาดใหญ่สีทอง
อาคารแห่งนี้ สร้างขึ้นเมื่อตอนที่มาเลเซียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เพื่อใช้เป็นศูนย์บริหาร อาณานิคมของอังกฤษ
Old Post Office Building
National Textile Museum พิพิธภัณฑ์สิ่งทอแห่งชาติ จัดแสดงเสื้อผ้า เครื่องประดับ และสิ่งทอที่มีเอกลักษณ์
เดินกลับมาขึ้นรถไฟฟ้าที่ สถานี Masjid Jamek เดินอ้อมด้านหลังสถานี ไปชมอีกมุมหนึ่ง ของ Masjid Jamek (มัสยิดจาเม็ก)
ขึ้นรถไฟฟ้า จากสถานี Masjid Jamek กลับมา โดยลงที่ สถานี KLCC
Petronas Twin Towers จาก จุดถ่ายรูป ภายใน KLCC Park
การแสดงน้ำพุ ประกอบแสงสีเสียง (Lake Symphony) โดยตัวน้ำพุ จะมีความสูงถึง 42 เมตร โดยการแสดงจะมีตั้งแต่เวลา 12.00 – 14.00 น. และ 18.00 – 23.00 น. (จันทร์-พฤหัส) และตั้งแต่เวลา 10.00 – 00.00 (ศุกร์-อาทิตย์ และวันหยุด)
บึงน้ำ ด้านหล้ง Suria KLCC และ KLCC Park ที่แสดงน้ำพุประกอบแสงสีเสียง (Lake Symphony) หลังจากการแสดงเสร็จสิ้นแล้ว ช่วงที่ชม น่าจะเป็นรอบสุดท้าย เมื่อการแสดงจบ จะมีเจ้าหน้าที มาเดินบอกให้ออกจาก KLCC Park ครับ (KLCC Park จะปิดเวลาประมาณ 00.15 น.)
ขอขอบคุณทุกท่าน ที่เข้ามาเยี่ยมชมตอนที่ 3 ของการไปเที่ยวมาเลย์เซียครั้งนี้ครับ ตอนที่ 4 จะพาไปชมเมือง Kuala Lumpur ในช่วงเช้ากันต่อ ก่อนที่จะเดินทางกลับกรุงเทพฯ ครับ