มาเลเซีย (Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก
มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย
มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม
เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง
มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก
มาเลเซียเป็นประเทศพหุชาติพันธุ์และพหุวัฒนธรรมซึ่งมีบทบาทอย่างมากในด้านการเมือง ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดมีเชื้อสายมลายู โดยมีชนกลุ่มน้อยกลุ่มสำคัญคือ ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย และชนพื้นเมืองดั้งเดิมกลุ่มต่าง ๆ รัฐธรรมนูญประกาศให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ก็ยังให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ผู้ที่ไม่ใช่ชาวมุสลิม
ระบบรัฐบาลมีรูปแบบคล้ายคลึงกับระบบรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ ระบบกฎหมายมีพื้นฐานอยู่บนระบบคอมมอนลอว์ ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์หรือที่เรียกว่ายังดีเปอร์ตวนอากง ทรงได้รับเลือกจากบรรดาเจ้าผู้ครองรัฐในมาเลเซียตะวันตก 9 รัฐ โดยทรงดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ส่วนหัวหน้ารัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี
(ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศมาเลเซีย)
มะละกา (Melaka, Malacca) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ กัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย, มะละกา เป็นเมืองท่าของประเทศมาเลเซีย ทำเลที่ตั้งของเมืองเหมาะสำหรับการค้าขาย ในช่วงแรก จีนเข้ามาทำการค้าขาย โดยทางเรือสำเภา แล้วตามด้วยอินเดีย
ต่อมาในยุคล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเชีย โปรตุเกสเข้ามาครอบครองนานถึง 130 ปี และในปี ค.ศ. 1640 ฮอลันดาก็เข้ามายึดเมืองมะละกาจากโปรตุเกส ต่อมาฮอลันดา แพ้สงครามต่อฝรั่งเศส จึงยกเมืองมะละกาให้กับอังกฤษ เพื่อกันไม่ให้ฝรั่งเศสมามาครอบครองเมืองมะละกา
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษ ได้คืนเอกราชให้กับมาเลเซีย ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 วันนี้ จึงเป็นวันที่ประวัติศาสตร์ชาติมาเลเซีย ต้องจารึกไว้ มาเลเซียไม่ต้องขึ้นกับประเทศใดๆ อีกแล้ว การประกาศเอกราชนี้ มีขึ้นที่เมืองมะละกา บริเวณหน้าอาคาร Proclaimation of Independence Memorial ด้วยเหตุนี้ เมืองมะละกา จึงเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมและศาสนา จากหลากหลายชนชาติ และ UNESCO ประกาศให้ เมืองมะละกา เป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2008
วันที่เดินทาง : 24-27/08/2013
ออกเดินทางจากสนามบินดอนเมืองประมาณ 7 โมงเช้า ด้วยสายการบิน Air Asia เที่ยวบินที่ FD2911 ไปถึงสนามบิน LCCT กัวลาลัมเปอร์ (สนามบินเก่า ปัจจุบันนี้ ย้ายไปยัง KLIA2) ประมาณ 10.15 น สภาพของสนามบิน LCCT ไม่แตกต่างจาก บขส ในประเทศไทยเท่าไหร่นัก ห้องน้ำก็สุดๆ ก็สมควรแล้วละครับที่จะต้องย้ายไปที่ใหม่
สกุลเงินของมาเลเซีย จะเป็นสกุล ริงกิต อัตราแลกเปลี่ยน ณ ตอนนั้น ประมาณ 1 ริงกิต เท่ากับ 9.5 บาท
หลังจากผ่าน ตม และ รับกระเป๋า ออกมาเรียบร้อยแล้ว ก็ออกไปหาซื้อตั๋วรถโดยสารไปเมืองมะละกา เพื่อให้ทันรถรอบ 11.30 น โดยรถโดยสารจะใช้เวลาเดินทางไปเมืองมะละกา ประมาณ 2 ชั่วโมง ค่าโดยสารประมาณ 21.90 ริงกิต
เมืองถึงเมืองมะละกา ที่สถานีขนส่ง Melaka Sentral ก็เรียก Taxi ไปโรงแรม Hangout @ Jonker ซึ่งตั้งอยู่ถนนยองเกอร์ (Jonker Street) ซึ่งจะเป็นถนนคนเดินของเมืองมะละกา ในวันศุกร์ และ เสาร์ (ค่า Taxi จากสถานี Melaka Sentral มาโรงแรมประมาณ 20 ริงกิต)
โรงแรมที่พักที่เมืองมะละกา Hangout @ Jonker
http://www.wintersea.net/2017/04/hangout-jonker-melaka-malaysia/
หลังจาก Check In ที่โรงแรม Hangout @ Jonker เรียบร้อยแล้ว ก็ออกมาหาของกินก่อนเลยครับ
เดินออกจากซอยโรงแรม จะเจอ Ulang Tahun Ke 608 Pelayaran Kapal Cheng Ho อยู่ที่ต้นถนนยองเกอร์ (Jonker Street)
เลี้ยวซ้ายไป ก็จะผ่านร้าน Restoran Famosa Chicken Rice Ball เป็นร้านอาหารที่มีชื่อในการขายข้าวมันไก่ลูกบอล แต่ก็มีอาหารอย่างอื่นขาย บางครั้งก็จะมีคนรอคิว แต่ก็ไม่เย่อะเหมือนร้านดังอีกเจ้า คือ ร้าน Chung Wah Chicken Rice Ball ที่อยู่ต้นถนนยองเกอร์
เดินต่อไปอีกไม่ไกลก็จะเจอ ร้าน Jonker 88 ซึ่งเป็นร้านอาหารที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในเมืองมะละกา
สังเกตง่ายๆ บริเวณหน้าร้าน Jonker 88 คนจะค่อนข้างเย่อะมาก แต่การเข้าไปทานอาหารที่ร้านนี้ ไม่ต้องเข้าคิวด้านหน้าร้านครับ ให้เดินเข้าไปหาโต๊ะว่างในร้านแล้วนั่งจองไว้ก่อน แล้วค่อยออกมาเข้าคิว ซื้ออาหาร โดยของคาวจะอยู่ด้านขวา ของหวานจะอยู่ด้านซ้าย รอรับอาหาร และจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์ด้านหน้าครับ
รายการอาหาร ร้าน Jonker 88
บรรยากาศภายในร้าน Jonker 88
ชามนี้เป็น Nyonya Asam Laksa อร่อยดี รสจัด ชอบมากๆ
Sea-Food Gravy Noodle ชามนี้ รสชาติธรรมดา ค่อนข้างจะจืด
Durian E.P.C.
Sago Chendol
ขนมหวาน ที่ ร้าน Jonker 88 หวาน อร่อยดีครับ
ข้างๆ ร้าน Jonker 88 จะเป็น Taman Warisan Dunia Jonker Walk ด้านในจะมี รูปปั้นนักเพาะกายชาวมาเลเซีย DATUK WIRA DR. GAN BOON LEONG หรือ The father of bodybuilders in Malaysia ตั้งอยู่
หลังจากทานกันอิ่มแล้ว ก็ออกไปเดินชมเมืองมะละกา
จากโรงแรม Hangout @ Jonker สามารถเดินไปบริเวณ Dutch Square หรือ จตุรัส ดัทช์ ได้ ไม่ไกลจากโรงแรมเลยครับ
Dutch Square หรือ จตุรัส ดัทช์ เป็นสิ่งก่อสร้างเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยมะละกา ถูกปกครองด้วยฮอลันดา (ฮอลแลนด์) สิ่งก่อสร้างในย่านนี้ จะทาด้วยสีแดง
โบสถ์คริสต์มะละกา (Christ Church Melaka) สร้างด้วยอิฐที่นำเข้ามาจากฮอลันดา แล้วฉาบด้วยสีแดง โบสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1741 และเสร็จในปี ค.ศ. 1753 รวมใช้เวลาสร้าง 12 ปี
หอนาฬิกาสีแดง (Clock Tower Melaka) สร้างในปี ค.ศ. 1886 โดย คหบดีชาวจีน ชื่อ ตันกิมเส็ง
อาคารสีแดงสูง 2 ชั้น (ด้านขวา) สร้างโดยอังกฤษ เพื่อเป็นที่ทำการไปรษณีย์ ปัจจุบันถูกดัดแปลงให้เป็น Malaysia Youth Museum & Melaka Art Gallery, จากทางนี้ ก็จะสามารถเดินไปถึง โบสถ์เซ็นต์ ฟรานซิส เซเวียร์ (St Francis Xavier’s Church) ได้ครับ
ทางเดินไป โบสถ์เซ็นต์ ฟรานซิส เซเวียร์ (St Francis Xavier’s Church) จะเป็นอาคาร ร้านค้า ในย่านเมืองเก่า
ป้าย “WELCOME TO MELAKA World Heritage City” และซากเมืองเก่า
โบสถ์เซนต์ ฟรานซิส เซเวียร์ (Church of St. Francis Xanvier) เป็นโบสถ์เก่าแก่ ตัวอาคารเป็นสีเหลือง รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบกอทิก (Gothic style) สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1849 ก่อสร้างโดยบาทหลวงฟาร์ฟ (Farve) แต่เหตุที่ชื่อโบสถ์เซนต์ ฟรานซิส เซเวียร์ เพราะบาทหลวงฟาร์ฟต้องการสร้างอุทิศให้ เซนต์ ฟรานซิส เซเวียร์
ซากเมืองเก่า แถวๆหน้า ป้าย “WELCOME TO MELAKA World Heritage City”
ป้าย “WELCOME TO MELAKA World Heritage City”
จากป้าย “WELCOME TO MELAKA World Heritage City” เดินเลียบแม่น้ำมะละกา กลับมาที่ Dutch Square อีกครั้ง
Queen Victoria’s Fountain น้ำพุหน้าโบสถ์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1904 เป็นน้ำพุที่ทำจากหินอ่อน ชาวมะละกา สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสพิธีเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 65 ปี ของพระราชินีวิคตอเรีย ประเทศอังกฤษ
โบสถ์คริสต์มะละกา (Christ Church Melaka)
Dutch Square หรือ จตุรัส ดัทช์
จาก Dutch Square เดินไปตามถนน Merdeka ไปทางปากแม่น้ำมะละกา
The Malacca Fort ซากป้อมปราการเมืองมะละกา
แม่น้ำมะละกา บริเวณซากป้อมปราการเมืองมะละกา (The Malacca Fort)
Kincir Air Kesultanan Melayu Melaka กังหันลม ที่ถูกสร้างโดยสุลต่านของเมืองมะละกา แต่ในปัจจุบันนี้เมืองมะละกา ปกตรองโดยผู้ว่าการรัฐ ไม่มีสุลต่านมาปกครองเหมือนบางเมืองในมาเลย์เซีย
Casa Del Rio Melaka Hotel โรงแรม 5 ดาว ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับปากแม่น้ำมะละกา เป็นโรงแรมที่น่าจะดีที่สุด และหรูสุดในเมืองมะละกา
Taming Sari Tower หอคอยสูง 110 เมตร สามารถขึ้นไปชมทิวทัศน์ของมะละกาได้ในแบบ 360 องศา
เวลาเปิด-ปิด : 10.00 – 23.00 น.
ค่าเข้า : 23 ริงกิต (ผู้ใหญ่), 15 ริงกิต (เด็ก)
Web Site : http://menaratamingsari.com/
Maritime Museum พิพิธภัณฑ์สมุทร์ศาสตร์ เป็นเรือที่จำลองมาจากเรือสำเภาฟลอเดอรามาร์ (Flor De Lama) เป็นเรือของโปรตุเกส ในสมัยที่มะละกาอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส เรือลำนี้ได้ขนสมบัติจากวังสุลต่านมะละกาไปเต็มพิกัด หลังจากที่เรือออกจากมะละกา ได้แล่นออกไปทางเกาะสุมาตราตอนเหนือและได้ล่มลงที่นั่น ในเรือจะจำลองบรรยากาศการใช้ชีวิตบนเรือ สมบัติมีค่าจากวังสุลต่าน
เวลาเปิด-ปิด : จันทร์-ศุกร์ 09.00 – 17.30 น., เสาร์-อาทิตย์ 09.00 – 21.00 น.
ค่าเข้า : 2 ริงกิต
Royal Malaysian Navy Museum พิพิธภัณฑ์ราชนาวี มาเลเซีย ด้านหลังจะเป็น Taming Sari Tower หอคอยสูง 110 เมตร
ป้อมปราการ A’Famosa และ Proclamation of Independence Memorial อนุสรณ์การประกาศอิสรภาพ
Proclamation of Independence Memorial อนุสรณ์การประกาศอิสรภาพ เป็นอาคารสีเหลือง–น้ำตาล มีโดมสีเหลืองอยู่ด้านบน อาคารแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของมาเลเซีย โดยเป็นสถานที่ประกาศเอกราช ไม่ขึ้นตรงกับประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ.1957
ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์การประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกันใคร ภายในมีประวัติความเป็นมา ตั้งแต่สมัยเป็นอาณานิคม การเป็นเมืองท่าของช่องแคบมะละกา มีภาพถ่าย รูปปั้นจำลองของผู้คนในสมัยนั้น
ป้อมปราการ A’Famosa และ Porta De Santiago ประตูซานติเอโก
ป้อมปราการ A’Famosa สัญลักษณ์แห่งมะละกา สร้างโดยนายพล Alfonso De Albuquerque ชาวโปรตุเกส ในปี ค.ศ.1512 สำหรับใช้ในการป้องกันเมือง เป็นประตูป้อมเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่จากการทำลายของอังกฤษ มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านการบุกรุกของเนเธอร์แลนด์
Porta De Santiago เป็นส่วนที่ยังหลงเหลือของป้อมปราการ A’Famosa ประตูแห่งนี้สร้างโดยโปรตุเกส โดยสร้างไว้รอบเนินเขามะละกา ต่อมากองทัพฮอลันดาบุกเข้ามะละกา ได้มีการบูรณะประตูซานติเอโกบางส่วน เนื่องจากประตูซานติเอโกเป็นประตูเก่าที่มีอายุกว่า 150 ปี ในขณะนั้น และยังคงใช้เป็นประตูเมือง
จนกระทั่งอังกฤษได้เข้ามาครอบครองมะละกา จึงสั่งให้ทำลายป้อมปราการและกำแพงรอบๆนั้นทิ้ง ในขณะที่การทำลายใกล้จะเสร็จสิ้น เซอร์ โทมัส แสตมฟอร์ด ราฟเฟิล เดินทางมาจากสิงคโปร์มาเห็นเข้าพอดี จึงยับยั้งการทำลาย เพราะเห็นว่า มีคุณค่าทางประวิติศาสตร์ จึงเป็นที่มาว่าประตูซานติเอโก เป็นประตูที่ไร้กำแพง
Light & Sound Spectacular จะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับ ป้อมปราการ A’Famosa และ Proclamation of Independence Memorial อนุสรณ์การประกาศอิสรภาพ
Istana Kesultanan Melaka / Melaka Sultanate Palace (วังสุลต่านแห่งมะละกา) / Cultural Museum เป็นพระราชวังไม้ของสุลต่านมะห์มุด ตั้งอยู่ ณ เนินเขา St.Paul’s Hill (เนินเขาโบสถ์ เซนปอล)
ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัฒนธรรมมะละกา จัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ เครื่องใช้ เครื่องแต่งกายในสมัยก่อน จำลองภาพเหตุการณ์เล่าเรื่องประกอบหุ่นและภาพเขียนสีน้ำมัน
เวลาเปิด-ปิด : 09.00 – 17.30 น.
ค่าเข้า : 2 ริงกิต
เดินขึ้นมาชมวิวบนเนินเขาโบสถ์ เซนปอล (St. Paul’s Church) ซึ่งจะเป็นลานกว้าง และเป็นจุดชมเมืองแบบเห็นได้รอบเมือง บางด้านจะสามารถมองได้ไกลถึงทะเล ช่องแคบมะละกา
St. Paul Church โบสถ์ เซนปอล เป็นโบสถ์เก่าสร้างอยู่บนเนินเขา ใกล้กับ Dutch Square สร้างขึ้นโดยคณะบาทหลวงจากโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1521
ตอนแรกนั้น เป็นเพียงโบสถ์เล็กๆ และมีการขยายใหญ่ขึ้นมาเรื่อยๆ ต่อมาฮอลันดาเข้ามาปกครองมะละกา จึงเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็นโบสถ์ เซนปอล และใช้งานโบสถ์แห่งนี้เป็นเวลา 112 ปี จนกระทั่งโบสถ์คริสต์สีแดง ตรง Dutch Square สร้างเสร็จ จึงไปใช้โบสถ์ของตัวเอง
รูปปั้น Saint Francis Xanvier ที่ไม่มีมือขวา จะอยู่ด้านหน้า St. Paul Church โบสถ์ เซนปอล
Saint Francis Xanvier ท่านเป็นนักบวชชาวสเปนที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ในย่านเอเชียตะวันออก หลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตที่ประเทศจีน โบสถ์แห่งนี้เคยเป็นที่ฝังศพชั่วคราวนาน 6 เดือน ก่อนที่จะย้ายไปฝังที่อินเดีย
เดินลงมาจากโบสถ์เซนปอล ออกมาทาง Malaka Islamic Museum เป็นพิพิธภัณฑ์ศาสนาอิสลามแห่งมะละกา แต่เดิมเป็นสถานที่สอนศาสนาอิสลามที่เก่าแก่ที่สุดในมะละกา ภายในจัดแสดงเกี่ยวกับการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในประเทศมาเลเซีย
เดินกลับออกมาทางด้าน Maritime Museum พิพิธภัณฑ์สมุทร์ศาสตร์
ตรงข้าม พิพิธภัณฑ์สมุทร์ศาสตร์ จะเป็น Medan Samudera เป็น Craft Centre ภายในจะมีร้านค้าขายของงานฝีมือ
ผ่าน The Malacca Fort ซากป้อมปราการเมืองมะละกา
แก็งค์สามล้อแห่งเมืองมะละกา บริเวณ Dutch Square ตกแต่งสีสันสวยงาม แต่ละคันจะมีเพลงให้ฟังด้วย บางคันก็เปิดเพลงไทยด้วย
Casa Del Rio Melaka Hotel โรงแรม 5 ดาว ริมแม่น้ำมะละกา
ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำมะละกากลับมาทางโรงแรม ก็จะเจอร้าน San Shu Gong ศูนย์รวมขนม และของฝากในมะละกา ซึ่งอยู่ต้นถนนยองเกอร์ ใกล้ๆ กับโรงแรมที่พัก
Kincir Air Kesultanan Melayu Melaka กังหันลมที่ถูกสร้างโดยสุลต่านของเมืองมะละกา ริมแม่น้ำมะละกา
The Malacca Fort ซากป้อมปราการเมืองมะละกา ริมแม่น้ำมะละกา
กลับเข้าโรงแรม อาบน้ำให้ร่างกายสดชื่นสักเล็กน้อย ก็เดินออกมาหาของทานกัน ที่ ถนนคนเดินยองเกอร์ (Jonker Walk)
ถนนคนเดินยองเกอร์ (Jonker Walk) เป็นถนนคนเดินในเมืองมะละกา มีเฉพาะวันศุกร์ และวันเสาร์ มีร้านขายของกิน ของฝาก หลากหลายอย่าง
โดยบ้านเรือนทั้ง 2 ข้างทางของถนนยองเกอร์ ส่วนใหญ่เป็นบ้านเรือนเก่า รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบชิโน–โปรตุเกส คล้ายกับที่ภูเก็ต
ร้าน Taiwan Sausage ที่ถนนคนเดินยองเกอร์ (Jonker Walk) ไม้ละ 2 ริงกิต อร่อยดีเหมือนกันครับ
ร้าน Durian Puff ที่ถนนคนเดินยองเกอร์ (Jonker Walk) เป็นขนมที่คล้ายๆ กับเอแคลร์ แต่ข้างในจะเป็นใส้ทุเรียน
บรรยากาศ ถนนคนเดินยองเกอร์ (Jonker Walk) จะมีร้านค้า ร้านอาหาร ร้านขายของทั่วๆไป อยู่เต็มทั้ง 2 ข้างทาง
ขากลับก็แวะทานอาหารร้านเดิม ร้าน Jonker 88 ครับ
San Shu Gong ศูนย์รวมขนม และของฝากในมะละกา ฝั่งตรงข้ามจะเป็นร้าน Chung Wah Chicken Rice Ball ร้านขายข้าวมันไก่ลูกบอล ที่มีชื่อเสียงของเมืองมะละกา
กลับเข้ามาที่โรงแรม ขึ้นไปที่ชั้น 4 ของโรงแรม Hangout @ Jonker จะมีเป็นระเบียงเล็กๆ ให้นั่งเล่น
แม่น้ำมะละกา ยามกลางคืน
เรือสำเภา ต้นถนนยองเกอร์
ขอจบวันแรกของการเดินทางไปมาเลเซีย เพียงเท่านี้ครับ ส่วนวันที่ 2 จะเป็นการเดินทางเข้าสู่เมืองหลวงของมาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ จะพาไปไหนบ้างลองติดตามดูนะครับ
ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ